เกตเวย์สำหรับการขยายธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางอื่นๆ :

เกตเวย์สำหรับการขยายธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางอื่นๆ :

2022-10-07

การขนส่งและโลจิสติกส์ข้ามแดน

การขนส่งและโลจิสติกส์ข้ามแดน สร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ

ปัจจุบันการขนส่งข้ามแดน (Cross-Border) เป็นเทรนด์การค้าที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งสร้างโอกาสในการยกระดับผู้ประกอบการในประเทศให้เป็นบริษัทค้าขายระหว่างประเทศ  สร้างโอกาสและความท้าทายทางธุรกิจ และเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ

การที่ท่าเรือในประเทศไทยมีที่ตั้งติดแม่น้ำและทะเลที่สำคัญ เปรียบเหมือนจุดกระจายสินค้าไปยังประเทศที่ไม่มีภูมิประเทศติดทะเล รวมถึงการนำสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศที่สาม

การขนส่งและโลจิสติกส์บริเวณชายแดนไทย

ภูมิประเทศของไทยติดกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 4 ประเทศ ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย การค้าชายแดนจึงมีความสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ อีกทั้งยังส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศอีกด้วย สำหรับพรมแดนที่สำคัญในการขนส่งและโลจิสติกส์ของชายแดนไทย ได้แก่

  • การค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ จังหวัดที่มีศักยภาพทางด้านการค้าชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมาร์มี 7 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และระนอง (ด่านท่าเรือระนอง) สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ ผ้าผืนและด้าย สินค้าที่เกี่ยวกับการขุดเจาะแหล่งพลังงาน สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ ผลิตภัณฑ์ไม้ และสินค้าที่ได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศปลายทาง
  • การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา กัมพูชาเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีพรมแดนติดต่อกันหลายด้านโดยทิศเหนือติดกับไทย 4 จังหวัด ได้แก่อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ทิศตะวันตกติดกับไทย 3 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว จันทบุรี และตราด และทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และมีจุดการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา จุดการค้าผ่านแดนทั้งหมดนี้มีจุดการค้าที่สำคัญ คือ ตลาดโรงเกลือ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีมูลค่าการค้าสูงที่สุด แต่ด่านชายแดนที่น่าจับตามองลงมาคือ ด่านศุลกากรคลองใหญ่ จังหวัดตราด เนื่องจากเป็นด่านชายแดนที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้ากลุ่มเครื่องดื่ม น้ำอัดลม และน้ำหวานอย่างต่อเนื่องและสูงตลอดทั้งปี
  • การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย พรมแดนไทย-มาเลเซียมีทั้งชายแดนระหว่างประเทศทั้งบนบกผ่านคาบสมุทรมาเลย์ และทางน้ำผ่านช่องแคบมะละการวมไปถึงอ่าวไทย ทะเลจีนใต้ มาเลเซียเป็นคู่ค้าอันดับที่ 1 ของไทยในกลุ่มอาเซียน โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป ยานยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง

การท่าเรือฯ ส่งเสริม ‘ท่าเรือระนอง’ รองรับการค้าฝั่งอันดามันและการค้าชายแดน

การท่าเรือฯ ได้เตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการที่ท่าเรือระนอง โดยมีแผนการพัฒนาท่าเทียบเรืออย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาพื้นที่ สิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือทุ่นแรง เพื่อเสริมศักยภาพอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมความร่วมมือในเรื่องเส้นทางการขนส่งระหว่างระนองกับท่าเรือต่างประเทศ โดยได้ส่งเสริมการขนส่งและโลจิสติกส์จากประเทศจีนผ่านประเทศลาวเข้าสู่พรมแดนไทยและนำสินค้าไปยังประเทศที่สามผ่านท่าเรือระนองซึ่งจะสร้างมูลค่าการส่งออกให้ประเทศได้มหาศาล

ผลักดัน ‘ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน’ เป็นฮับการค้าชายแดนลุ่มแม่น้ำโขงตอนบน

ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน ได้รับการผลักดันตามนโยบายของรัฐในการปรับปรุงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ รองรับการขนส่งทางน้ำตามข้อตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าและการลงทุน พัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางและเป็นประตูการค้าในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ความท้าทายในการขนส่งข้ามแดน

เมื่อทำการขนส่งสินค้าจำนวนมากข้ามแดนจะต้องมีการระบุหรือจำแนกประเภทของสินค้า มูลค่าของสินค้า และประเทศต้นทางของสินค้าให้ถูกต้อง หากกระบวนการจัดทำเอกสารไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดความล่าช้า ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

.

ปัจจัยในการเลือกผู้ให้บริการการขนส่งข้ามแดน ได้แก่

  1. ด้านความปลอดภัย การขนส่งข้ามแดนจำเป็นต้องวางแผนเส้นทางที่รวดเร็วและปลอดภัยในการจัดส่งสินค้าเพื่อการประหยัดเวลาการขนส่ง รวมถึงการประกันภัยสินค้า
  2. ด้านทรัพยากร ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการขนส่ง เช่น ยานพาหนะ อุปกรณ์ติดตามสินค้าหรือเทคโนโลยีต่างๆ ช่วยให้สามารถความคุมการจัดส่งสินค้าให้เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว
  3. สรรหาบริษัทหรือตัวแทนในพื้นที่ จัดหาตัวแทนที่มีประสบการณ์ในการดำเนินพิธีการศุลกากรและมีความชำนาญเส้นทางภายในประเทศนั้นๆ เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และสามารถจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่งได้อย่างมืออาชีพ

.

PAT Marketing ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ

ติดตามข่าวสารและติดต่อเราได้ที่ไมโครไซต์ https://pat.marketing/

ช่องทางการติดต่อ PAT MARKETING

+662 269 5317

patmarketing@port.co.th

www.port.co.th

 

 

Tags: #กทท #การท่าเรือแห่งประเทศไทย #PATMarketing #ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ #ท่าเรือระนอง #ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน #การขนส่งและโลจิสติกส์ข้ามแดน #การขนส่งและโลจิสติกส์ #การค้าชายแดน #การค้าข้ามแดน

ข้อมูลการติดต่อ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางอื่นๆ :