อุตสาหกรรมและธุรกิจบริการด้าน การขนส่ง และโลจิสติกส์ยังขยายตัวเติบโตต่อเนื่อง แม้จะต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคจากภายนอก และความท้าทายทางเศรษฐกิจภายในประเทศ คาดการณ์ว่าภาคการส่งออกของไทยปี 2567 จะพลิกกลับมาเป็นบวก โดยจะเติบโตขึ้น 3.6% จากปี 2566 ที่หดตัว 2% อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามเศรษฐกิจโลกต่อไป รวมไปถึงเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และปัญหาสงคราม (ม.หอการค้าไทย 2566)
การเชื่อมเครือข่าย (Connect), การจัดการข้อมูล (Manage) และการวิเคราะห์คาดการณ์ผลลัพธ์ (Analyze & Predict) อาจต้องปรับปรุงระบบเทคโนโลยีการทำงานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ให้อยู่ภายใต้ระบบนิเวศทางเทคโนโลยีเดียวกันตลอดซัพพลายเชน (Supply Chain Technology Ecosystem)
นับเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ภาคธุรกิจสามารถบริหารจัดการเวลาและกิจกรรมด้านการการขนส่งและโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง สอดคล้องกับ 3 เทรนด์เทคโนโลยีสำคัญด้านการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อความยั่งยืน
การเชื่อมโยงและทำให้ทุกระบบที่ใช้สำหรับการบริหารจัดการงานด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย โดยใช้เทคโนโลยี Cloud ที่สามารถส่งถ่ายข้อมูลระหว่างระบบและสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถติดตามสถานะ และข้อมูลด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ได้อย่างแม่นยำแบบเรียลไทม์
โดยระบบที่ทำงานร่วมกันจะมีความสามารถในการบริหารจัดการงานด้านการขนส่งมากขึ้น เช่น การจับคู่ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของรถขนส่งจากผู้ให้บริการหลายรายกับสินค้าที่จะจัดส่งในแต่ละเที่ยว การประเมินระยะเวลาการจัดส่ง และการเลือกเส้นทางที่ประหยัดและเหมาะสม
Transportation Management System ย่อว่า TMS คือ ระบบบริหารจัดการงานด้านการขนส่งทั้งระบบ ตั้งแต่รับออเดอร์ บริหารจัดการเที่ยวรถ ส่งงานและรายละเอียดให้คนขับ ติดตามสถานะการขนส่งได้แบบ Real Time รวมถึงการช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถบันทึกบัญชีรายรับและรายจ่ายได้ เรียกได้ว่าเป็นจัดการระบบงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทั้งหมด ที่ครอบคลุมตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางในธุรกิจด้านการขนส่งเลยทีเดียว
TMS นับเป็นระบบบริหารจัดการงานด้านการขนส่งที่ใช้ในธุรกิจบริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์มานาน โดยหัวใจสำคัญของ TMS คือ การจัดการต้นทุนการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ สำหรับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาปรับปรุงความสามารถของ TMS ได้แก่
1) AI เพื่อใช้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดต่างๆ เช่น ความสามารถของการบรรทุก กฎระเบียบจราจร ชั่วโมงการขับรถ ฯลฯ ช่วยประเมินสถานการณ์พร้อมเสนอทางเลือก และวิเคราะห์ผลลัพธ์ได้แม่นยำขึ้น เช่น การประมาณเวลาที่รถขนส่งจะมาถึงปลายทาง (ETA)
2) IoT การใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์และระบบจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์แบบเรียลไทม์ ช่วยให้การบริหารธุรกิจคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงระบบให้สามารถตรวจสอบและจัดการกับสินทรัพย์และยานพาหนะได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที
Time Slot Management ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ เนื่องจากเป็นการพัฒนาระบบการทำงานที่มีข้อมูลอัปเดตช่วงเวลาการเข้า-ออกของรถบรรทุกสินค้าจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรในคลังสินค้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรถบรรทุกที่จะเข้ามารับสินค้าได้สะดวกและรวดเร็ว
เช่น ข้อมูลการประมาณเวลาที่รถจะเข้าถึงคลังสินค้า (ETA) ตำแหน่งที่จอดรถรับส่งสินค้าภายในคลังสินค้า ฯลฯ ซึ่งในบางธุรกิจ รถขนส่งสินค้ามีหน้าที่ส่งตรงวัตถุดิบ หรืออะไหล่เข้าสู่สายการผลิตโดยตรง ฉะนั้นเวลาในการเข้าถึงจุดส่งสินค้าจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อไม่ให้กระทบกับการผลิต
การท่าเรือฯ มุ่งมั่นผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการบริหารการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์อย่างครบวงจร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล เสริมศักยภาพ SMART PORT พร้อมพลิกโฉมสู่ท่าเรือชั้นนำระดับโลก
PAT Marketing ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ
ติดตามข่าวสารและติดต่อเราได้ที่ไมโครไซต์ https://pat.marketing/
ช่องทางการติดต่อ PAT MARKETING
#กทท #การท่าเรือแห่งประเทศไทย #Portauthorityofthailand #PATMarketing #ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ
#ส่องเทรนด์ขนส่งและโลจิสติกส์ #เทรนด์ปี2567
หากมีข้อสงสัย
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านข้อความ หรือพูดคุยกับเรา
ผ่าน Facebook Messenger