ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยียานยนต์เข้ามาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มความปลอดภัยด้านงานขนส่ง ตลอดจนลดต้นทุนในระยะยาว ด้วยความสามารถของเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งคาดการณ์ว่าเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับจะถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและก้าวข้ามขีดจำกัดที่เคยมีมาจนเป็นยอมรับอย่างกว้างขวางในอนาคตอันใกล้
ยานยนต์ไร้คนขับไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก รถหัวลาก และรถไฟแบบไร้คนขับจะกลายเป็นอีกหนึ่งความจำเป็นสำหรับการขนส่งสินค้าและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบทางเศรษฐศาสตร์ของการจัดส่งสินค้า เมื่อค่ายยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีกำลังพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “นวัตกรรมทางด้านโลจิสติกส์” อย่าง “รถบรรทุกและรถไฟขับเคลื่อนอัตโนมัติ” ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการขนส่งต่างกำลังวิเคราะห์ความแตกต่างและความได้เปรียบของทั้งรถบรรทุกและรถไฟ เมื่อนวัตกรรมได้เข้ามาอย่างจริงจัง จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพนักงานขับรถบรรทุกและลดต้นทุนค่าขนส่งให้กับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ เนื่องจากเทคโนโลยีจะช่วยให้การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น โดยระบบอัตโนมัติจะทำให้ “Transportation Landscape” ในอนาคตเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน
สำหรับการจำลองเพื่อแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีในอนาคตสามารถจัดการงานที่ซับซ้อนขนาดใหญ่ได้ทุกขั้นตอน กระบวนการถูกควบคุมโดยนักวิจัยซึ่งคอยสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมการทดลอง ก่อน ระหว่าง และหลังโครงการพบว่าพนักงานได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น มั่นใจในการปฏิบัติงาน ขณะที่พนักงานบางส่วนรู้สึกว่ายานยนต์ไร้คนขับสามารถแก้ปัญหาอุปสรรคได้ไม่แพ้คน
ในปี 2562 นับเป็นก้าวสำคัญที่จะนำรถบรรทุกไฟฟ้า L4 ที่ไม่มีคนขับมาใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ จีนมุ่งมั่นผลักดันพัฒนาการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการส่งเสริมรถบรรทุกอัจฉริยะในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ โดยเริ่มใช้รถไร้คนขับเส้นทางหลวงอัจฉริยะ เปิดตัวรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะมีน้ำหนักเบา ชาร์จไฟเร็วขึ้นและวิ่งได้ระยะทางที่ไกลขึ้น โดยเริ่มส่งเสริมต้นแบบในภูมิภาคปักกิ่ง – เทียนจิน – เหอเป่ย (อ้างอิง : www.th.truck-cnhtc.com)
เมื่อปี 2562 ในการทดสอบ VOLVO VERA บนสนามจริง VOLVO TRUCKS ได้ร่วมมือกับ บริษัทเรือข้ามฟากและโลจิสติกส์ DFDS การทดสอบได้ถูกควบคุมและตรวจสอบผ่านแอพพลิเคชั่น VERA ที่จะมีการเชื่อมต่อระหว่าง VOLVO VERA สู่ศูนย์กลางการควบคุมโลจิสติกส์ของ DFDS โดยเส้นทางคือ การขนส่งจากศูนย์โลจิสติกส์ของ DFDS ไปจนถึงศูนย์ท่าเรือ APM ในโกเธนเบิร์ก เพื่อขึ้นเรือขนสินค้า ผลการทดสอบผ่านไปด้วยดี บริษัทยังคงพัฒนาให้รถหัวลากไร้คนขับสามารถตอบโจทย์การขนส่งแบบไร้คนขับให้มีความแม่นยำในการจัดส่ง และลดการปล่อยมลพิษ นับเป็นอีกก้าวสำคัญของการขนส่งยุคใหม่อย่างแท้จริง (อ้างอิง : https://www.autotirechecking.com)
ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือชั้นนำในประเทศไทย และผู้นำด้านนวัตกรรมท่าเรืออัจฉริยะระดับโลก ประกาศเปิดตัวรถบรรทุกไร้คนขับเพื่อทดสอบปฏิบัติงานภายในท่าเทียบเรือชุด D ณ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี เป็นแห่งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2563 และเป็นกลุ่มแรกในโลก นับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยเทคโนโลยีรถบรรทุกไร้คนขับ ‘Qomolo’ ที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่ท่าเทียบเรือชุด D ซึ่งการลงทุนครั้งสำคัญนี้ ไม่เพียงแต่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้าและผู้ใช้บริการที่ท่าเทียบเรือชุด D เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก อันเป็นประตูสำคัญสู่ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเช่นเดียวกัน (อ้างอิง : https://www.logisticafe.com)
ในอนาคตเมื่อ “Internet Of Things-IoT” ก้าวเข้าสู่ทุกกิจกรรมของมนุษย์ เทคโนโลยีสำหรับรถบรรทุก รถหัวลาก และรถไฟขับเคลื่อนอัตโนมัตินี้จะเข้ามาแทนที่ในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอน ถึงแม้ว่ารถบรรทุกขับเคลื่อนอัตโนมัติจะมีความยุ่งยากในการพัฒนามากกว่า แต่ในระยะยาวจะสามารถแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ และปัญหาแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
PAT Marketing ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ
ติดตามข่าวสารและติดต่อเราได้ที่ไมโครไซต์ https://pat.marketing/
ช่องทางการติดต่อ PAT MARKETING
Tag: #กทท #การท่าเรือแห่งประเทศไทย #PATMarketing #ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ #ท่าเรือกรุงเทพ #ท่าเรือแหลมฉบัง #ท่าเรือระนอง #ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน #ท่าเรือเชียงของ #ยานยนต์ไร้คนขับ #เทรนด์ขนส่งและโลจิสติกส์#รถบรรทุกไร้คนขับ #รถหัวลากไร้คนขับ #นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้า
หากมีข้อสงสัย
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านข้อความ หรือพูดคุยกับเรา
ผ่าน Facebook Messenger